Thailand Post หรือไปรษณีย์ไทยได้ออกมาประกาศถึงการนำ Blockchain มาใช้งานภายในองค์กรภายในปี 2017 ในขณะที่ State Railway of Thailand (SRT) หรือการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ประกาศถึงแผนการนำ Internet of Things (IoT) มาใช้ปรับปรุงบริการขนส่งสินค้า
International Data Corporation (IDC)เผยตัวเลขคาดการณ์เกี่ยวกับธุรกิจInternet of Things (IoT)ทั่วโลก ว่าจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งภายในปี 2021 นี้จะมีตัวเลขการลงทุนในตลาดนี้ถึง 47.5 ล้านล้านบาท ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และระบบเครือข่ายของอุปกรณ์ IoT
ในการประกาศครั้งนี้ Microsoft ได้กลายเป็น Gold Member ของโครงการ Cloud Foundry ไปเป็นที่เรียบร้อย ซึ่ง Microsoft เองก็จะร่วมผลักดัน Cloud Foundry ให้เติบโตต่อไป อีกทั้งยังจะพัฒนา Microsoft Azure ให้ทำงานร่วมกับ Cloud Foundry ได้มากขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้เองก็มีลูกค้าของ Microsoft Azure หลายรายที่ใช้ Cloud Foundry เป็นหลักในการทำ Cloud Migration
ในเวลาเดียวกัน Microsoft เองก็ได้ประกาศรองรับความสามารถใหม่ๆ บน Cloud Foundry ในการเชื่อมต่อกับ Azure เช่น การ Integrate Azure Database (PostgreSQL, MySQL) และ Cloud Broker สำหรับ SQL Database, Service Bus และ Cosmos DB ได้ รวมถึงยังมี Cloud Foundry CLI Tool ให้พร้อมใช้งานได้ใน Cloud Shell เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการด้วย
ส่วนทีม Deis ที่ Microsoft เข้าซื้อกิจการมานั้น ก็ได้เป็นกำลังหลักในการช่วยให้ Microsoft ได้เข้าร่วมในโครงการ Open Service Broker ซึ่งเป็นโครงการพัฒนา API มาตรฐานสำหรับเชื่อมต่อระบบ Cloud-native Platform เข้ากับ Application Platform อย่างเช่น Cloud Foundry และ Kubernetes ด้วย ก็เป็นอีกมุมหนึ่งที่ Microsoft จะได้เข้าไปมีส่วนใน Cloud Foundry อีกทาง
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ Microsoft เองก็ได้ทำงานร่วมกับ Partner หลายรายที่ใช้งานเทคโนโลยีของ Cloud Foundry อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Pivotal, SAP (SAP Cloud Platform) และ GE การเข้าร่วมโครงการ Cloud Foundry ในครั้งนี้ของ Microsoft จึงถือเป็นอีกกลยุทธ์สำคัญทางด้าน Cloud ในอนาคตของ Microsoft เลยทีเดียว
Microsoft เตรียมอัปเดตระบบปฏิบัติการ Windows 10 ครั้งใหญ่ ภายใต้โค้ดเนม Redstone 3 ซึ่งเตรียมที่จะยกเลิกการใช้งาน SMBv1 บนระบบปฏิบัติการหลายๆ เวอร์ชันในช่วงเดือนตุลาคมหรือพฤศจิการยนปลายปีนี้
SMBv1 ซึ่งเป็นโปรโตคอลสำหรับแชร์ไฟล์ที่ทาง Microsoft ได้พัฒนาตั้งแต่ในช่วงปี 90 และถูกพิสูจน์แล้วว่าเป็นโปรโตคอลที่มีช่องโหว่ ไม่เหมาะต่อการใช้งานในปัจจุบัน โดยเฉพาะหลังจากที่เกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของ WannaCry ผ่านโปรโตคอลดังกล่าวขึ้น ซึ่งภายในบริษัท Microsoft เอง ได้ยกเลิกการใช้ SMBv1 บน Windows 10 Enterprise และ Windows Server 2016 เวอร์ชันพิเศษสำหรับใช้ภายในองค์กรเอง ซึ่งเป็นเวอร์ชันสำหรับทดสอบภายใน ไม่ได้เผยแพร่สู่สาธารณะ
Ned Pyle, Principal Program Manager จาก Microsoft Windows Server High Availability and Storage group ระบุว่า Microsoft วางแผนที่จะยกเลิกการใช้ SMBv1 มาตั้งแต่เมื่อ 5 ปีก่อนแล้ว และได้ตัดสินใจประกาศสู่สาธารณะว่าจะเลิกใช้เมื่อปี 2014 แต่ยังไม่ได้กำหนดวันแน่ชัด แต่ตอนนี้ยืนยันแล้วว่า Windows 10 Redstone 3 หรือในชื่อ Fall Creators Update ที่จะเปิดให้ใช้งานในช่วงเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน 2017 นี้ Microsoft จะยกเลิกการใช้ SMBv1 บนระบบปฏิบัติการ Windows 10 และ WIndows Server 2016 อย่างแน่นอน